Dujdao Vadhanapakorn

1981, Bangkok Thailand

Dujdao is a multi-faceted artist. She is a performance artist, theatre director, theatre actress, performance designer, and dancer. Dujdao has been developing all those skills for 16 years with B- Floor Theatre which is a physical theatre group that works on societal issues and uses bodies and art compositions for communicating. She started to work with B-Floor Theatre in 2002, right after her BA graduation. She is one of the core members who constantly produces unique performance piece which she calls it, ‘experiential performance’ whereby messages of the works are in the forms of audiences’ experiences not in the performance itself.

The technique of Dujdao’s works has become more prominent after she graduated the Master’s Degree of Dance Movement Therapy from Goldsmiths, University of London, in 2009. The chances to study and work as a dance movement psychotherapist made Dujdao concentrate on the delicacy of human minds and perceptions. In addition, she views human beings in the way that links them to societal problems. She implements psychological and psychotherapeutic theories to creating an identity of her works, which have been clearly apparent in the works during 2013 and 2017, such as (In)sensitivity at B- Floor Room, Secret Keeper at Bangkok Art and Culture Center and Blissfully Blind at Bangkok City City Gallery. All the three works are about human coexistence in different facets, such as perceptions to one’s and others’ feelings, mutual trusts in safety zones and compassion and different perceptions in each individual, respectively. It is certain that all the three works were performed by carving ‘experiences’ in audiences.

Not only is art composition a unique tool of Dujdao but there is also the other element that she has been emphatic on for her 16 years of works. That element is the deliberate use of bodies in the detailed and meaningful manner. Human bodies are not just materials or objects of the works because Dujdao also inserts a layer of  humanity and psychology of the bodies of both performers and audiences into her piece. Dujdao’s works question each individual about the contemporary societal issues. She decodes societal issues into individual level because she believes that each individual is a unit from which all structures, systems, cultures and beliefs are built.

ดุจดาว วัฒนปกรณ์

เกิด พ.ศ. 2522, พำนักและทำงานที่ กรุงเทพมหานคร

ดุจดาว วัฒนปกรณ์ เป็นศิลปินที่มีความถนัดทั้งด้านการแสดง การออกแบบและการกำกับการแสดง โดยใช้ร่างกายในการเคลื่อนไหวเป็นหลัก กว่า 16 ปี ที่ดุจดาวทำงานในนามสมาชิกกลุ่มบีฟลอร์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เน้นการแสดงแบบฟิสิคัลเธียเตอร์ สื่อสารประเด็นทางสังคมและการเมือง โดยการใช้ร่างกายและองค์ประกอบศิลป์ รวมทั้งเทคโนโลยีแสงสีเสียงสมัยใหม่ เธอมักสร้างขอบเขตหรือโครงสร้างขนาดใหญ่บางอย่าง ให้น้กแสดงหรือนักเต้นเคลื่อนไหวทั้งแบบอิสระและมีข้อกำหนดอยู่ในนั้น บางครั้งก็อนุญาตให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในพื้นทีนั้น หรือเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นอย่างจงใจ โดยผู้ชมแต่ละคนจะได้สัมผัสหรือมีมุมมองที่ต่างกันจากการแสดง ขึ้นอยู่กับจุดที่เขาเหล่านั่นนั่งหรือยืนอยู่ โดยอาจจะไม่สามารถเห็นภาพ หรือนักแสดงได้ทั้งหมดทุกคนในเวลาเดียวกัน ศิลปินนิยามการออกแบบการแสดงในลักษณะนี้ว่าเป็น experiential performance  

ผลงานของดุจดาวเริ่มมีรูปแบบเฉพาะตัวที่ชัดเจน หลังเธอจบการศึกษาระดับปริญญาโทด้าน Dance Movement Therapy จาก Goldsmiths, University of London ในปี พ.ศ.2552 การที่ได้เรียนและต่อมาทำงานประจำในฐานะนักจิตบำบัดด้วยการเคลื่อนไหวที่โรงพยาบาลกรุงเทพฯ ส่งผลให้ดุจดาวใส่ใจในความละเอียดอ่อนทั้งด้านความคิดและการรับรู้ของมนุษย์ และเธอยังมองมนุษย์ในวิถีที่เชื่อมโยงกับปัญหาสังคม เธอดึงเอาทฤษฎีจิตวิทยาและจิตบำบัดมาเป็นหนึ่งในเอกลักษณ์ของงานเธอเอง เห็นได้ชัดจากผลงานในช่วงปี พ.ศ. 2556 – 60 ได้แก่ (In)sensitivity แสดงที่ B- Floor Room, การแสดงชุด Secret Keeper ในเทศกาลศิลปะการแสดงกรุงเทพ (PAF) ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (2558) และ Blissfully Blind ที่จัดแสดงที่ Bangkok CityCity Gallery (2560) ซึ่งทั้งสามงานนี้พูดถึงการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในแง่มุมต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นการรับรู้ความรู้สึกของตัวเองและผู้อื่น การไว้ใจกันในพื้นที่ปลอดภัย และเรื่องความเห็นอกเห็นใจและการรับรู้ที่แตกต่างกันของแต่ละปัจเจก เรียงตามลำดับเป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าทุกเรื่องถูกถ่ายทอดผ่านการมี “ประสบการณ์”ร่วมของคนดูด้วยกันทั้งสิ้น

ไม่ใช่แค่องค์ประกอบศิลป์และการจัดวางโครงสร้างที่ผสมสื่อร่วมสมัยที่น่าตื่นตาตื่นใจ แปลกและแตกต่าง ที่เป็นจุดแข็งในการออกแบบงานแสดงของดุจดาว แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่เธอยังคงเน้นมาตลอด16ปี ของการทำงาน นั่นก็คือการใช้ร่างกายอย่างประณีต ละเอียดและมีความหมาย ไม่ใช่แค่ร่างกายที่เป็นวัตถุในการแสดง แต่เธอรวมเอาความเป็นมนุษย์และจิตวิทยาภายใต้ร่างกายของทั้งผู้แสดงและผู้ชมเข้าไปด้วยกัน งานดุจดาวจะเป็นการตั้งคำถามกับปัจเจกบุคคลเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดในสังคม เธอต้องการถอดรหัสปัญหาสังคมออกมาให้อยู่ในระดับของปัจเจกบุคคล เพราะเธอเชื่อว่าหน่วยของมนุษย์ คือหน่วยที่เป็นบ่อเกิดของโครงสร้าง ระบบ วัฒนธรรม และแนวความเชื่อทั้งมวล