Imhathai Suwatthanasilp

1981, Bangkok, Thailand

Imhathai Suwatthanasilp was born in Bangkok, but grew up and lived in Chaiyaphum province until finished high school in 1999. After graduation, she moved to continue her studies in Bangkok and received Bachelor’sdegree in Thai Arts with 2nd Class Honors, and her Master’sdegree in Thai Arts from Silpakorn University, Bangkok.

In 2006, she won the scholarship to study at the Exchange Program at Ecole Nationale Superieure des Beaux Arts, Paris, France. She alsoreceived the scholarship from Government of Italy to study the Marble Carving Program at Florence, Italy in 2009 and obtained the Certificate in Marble Carving from Accademia di Belle Arti di Firenze, Italy.

Her works were exhibited in internationally at various major art conventionsi.e. International Incheon Women Artists Biennale 2009,Incheon, Korea, Busan Biennale 2010,Busan, Korea, NCA Nichido Contemporary Art,2010, Tokyo, Japan , Coreana Museum of Art, Space*C 2011,Seoul, Korea, The Museum of Contemporary Art and Design 2011,Manila, Philippines, Singapore  Art Museum2012, Singapore, Jakarta Biennale 2017,Indonesia and her artwork is permanent collection of Singapore Art Museum.

In 2016, her artwork was selected as one of the top 30 finalists in “The 2016 Sovereign Asian Art Prize”, Hong Kong.

อิ่มหทัย สุวัฒนศิลป์

เกิด พ.ศ. 1981 กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย

อิ่มหทัย สุวัฒนศิลป์ เติบโตและใช้ชีวิตที่จังหวัดชัยภูมิจนกระทั่งเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลาย ในปี พ.ศ. 2543 จึงได้เข้ามาศึกษาต่อที่คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก), กรุงเทพฯ ในระดับปริญญาตรีและโท ในปี พ.ศ. 2549 เธอได้รับทุนแลกเปลี่ยนไปเรียนที่ Ecole Nationale  Superieure des Beaux – Arts, ปารีส ฝรั่งเศส, ในปี พ.ศ. 2552 ได้รับทุนรัฐบาลอิตาลีไปเรียนคอร์สแกะสลักหินอ่อน ที่ Academia di Belle Arti di Firenze เมืองฟลอเรนซ์ อิตาลี

อิ่มหทัย เริ่มเป็นอาจารย์พิเศษที่คณะจิตรกรรมฯ มศก. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 และเริ่มสอนประจำที่นั่นในปี 2553 ก่อนจะลาออกไปใช้ชีวิตและทำงานศิลปะเต็มตัว ที่จังหวัดลำพูนตั่งแต่ปี 2560 อิ่มหทัยเป็นที่รู้จักจากการนำเส้นผมมาประกอบ ในงานทั้งที่เป็นประติมากรรมขนาดเล็กและใหญ่ ที่มีความละเอียดอ่อน แต่ก็แฝงไปด้วยคำถาม และความหมายลึกซึ้งที่เกี่ยวกับเพศสภาพ ความเปราะบางและพันธนาการในชีวิตมนุษย์ เธอนำเส้นผมมาใช้หลังจากที่พ่อของเธอ ได้ตัดเส้นผมและมอบให้แก่ลูกๆ ก่อนจากไปด้วยโรคที่ไม่อาจเยียวยา นับเป็นจุดเริ่มต้นที่เส้นผมปรากฏในงานของเธออย่างต่อเนื่อง โดยที่รับบริจาคมาจากบุคคลต่างๆ ทั้งผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้คนต่างสาขาอาชีพ รวมทั้งของตัวศิลปินเองเพื่อนำมาถัก และประกอบรูปเพื่อสื่อความหมาย ที่เชื่อมโยง กับบริบทของผู้บริจาคเส้นผมที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้งานที่โดดเด่นไม่แพ้กันของอิ่มหทัย คืองานวาดเส้นนามธรรมขาวดำบนกระดาษ ที่ขดไปมาต่อเนื่องไม่สิ้นสุด บางครั้งดูคล้ายรูปทรงของผู้หญิง หรือที่แท้ก็คือองค์ประกอบหน่วยย่อยๆ ของรูปทรงธรรมชาติที่ประกอบเป็นหน่วยชีวิต รวมไว้ด้วยประสบการณ์ ความงาม พลังงาน บางส่วนเห็นชัด บางส่วนทับซ้อน เหมือนจะควบคุมแต่ก็ลื่นไหลเป็นอิสระ สะท้อนการสำรวจไปที่ภาวะหยั่งรู้และเข้าถึงตัวตนอย่างมีเสรีภาพ

อิ่มหทัยมีนิทรรศการเดี่ยวอย่างต่อเนื่อง อาทิ Memory: “My Hair”, ENSBA ปารีส ฝรั่งเศส (พ.ศ. 2550), DNA ที่ Valentine Willie Fine Art Gallery กัวลาลัมเปอร์ มาเลยเซีย (2551), Diary of a Weaving Story ที่อาร์เดล แกลเลอรี่ กรุงเทพฯ (2553), Hair For Hope: The New Beginning ที่อาร์เดล แกลเลอรี่ และ พีเพิ่ลส แกลเลอรี่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (2555), Rebirth ที่นำทองแกลเลอรี่ กรุงเทพฯ (2557), Ruen Sam Nam See (7 Elements) ที่นำทองแกลเลอรี่ กรุงเทพฯ นอกจากนี้เธอยังมีผลงานจัดแสดงในนิทรรศการระดับนานาชาติ เช่น International Incheon Women Artists Biennale (2552), อินชอน และ Busan Biennale (2553), ปูซาน เกาหลีใต้, Korea, NCA (Nichido Contemporary Art,2010), โตเกียว ญี่ปุ่น, Coreana Museum of Art, Space*C (2554), กรุงโซล เกาหลีใต้, The Museum of Contemporary Art and Design (2554), มะนิลา, ฟิลิบปินส์, Singapore  Art Museum (2555), สิงคโปร์, Jakarta Biennale 2560, จาการ์ต้า อินโดนีเซีย และผลงานของเธออยู่ในการสะสมถาวรของ Singapore Art Museum สิงคโปร์ นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2559 เธอได้เป็นผู้เข้ารอบ 30 คน ของรางวัล The 2016 Sovereign Asian  Art Prize ที่ประเทศฮ่องกง