Hooptam Laos-Thai

2018, Laos / Thailand

Hooptam is a collaborative group between Lao and Thai artists to showcase their works at Bangkok Biennale. They are a collective of new-generation artists from opposite sides of Mekong River to uphold “Hooptam” or traditional painting arts from the past to contemporary painting.

Founded by Asst. Prof. SongwitPimpakun, Director of KKU Culture Center, the group consists of Thai artists, namely TanuponEn-on, Homesawan Umansap, and Lao artists namely, Tiane Vilayphonchith, and Amphonsouk Paisoulin. The artists has brought up “Sang Sinxay” Hooptam to portray the issue of recreating the word “Hooptam”, which means temple painting in Lao and Northeastern Thai. It tells Buddhist stories including Buddha’s biography, past Buddhist tales, folktales, as well as life stories of local inhabitants linking to Buddhism i.e. Ramayana, Sin Xay, etc. These works are painted on sacred temple walls, varying in styles based on locality.

For 2018 Bangkok Biennale, and for the first time, the collective created a new artwork of 15.50 meters in length, depicting a story from Sin Xay which is widely popular in SEA. The group selected the most renowned book about LanXang Kingdom, a book filled with words of beauty, politeness, deeper meaning in art, as well as life lessons that can be learned.

Hooptam Laos-Thai utilizes Wat Chaisri in Khonkaen province, Thailand, as the working ground to connect traditional and contemporary arts. They combine both styles of painting on 24 slabs of wood before hauling the pieces to Bangkok for exhibition.

ฮูปแต้ม ลาว-ไทย

กลุ่มความร่วมมือเพื่อเทศกาลบางกอกอาร์ต เบียนนาเล่ ก่อตั้ง พ.ศ.2561, สปป.ลาว – ประเทศไทย ดำเนินโครงการที่ ขอนแก่น ประเทศไทย

ฮูปแต้ม ลาว-ไทย เป็นกลุ่มจิตรกรรุ่นใหม่สองฝั่งโขง จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และภาคอีสานของไทย ที่รวมตัวกันเฉพาะกิจเพื่อสร้างสรรค์สืบสาน ภูมิปัญญาฮูปแต้ม (จิตรกรรม) จากอดีตสู่จิตรกรรมร่วมสมัย ก่อตั้งโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์ ประกอบด้วย ศิลปินไทยคือ ตนุพล เอนอ่อน, ห่มสวรรค์ อู่ม่านทรัพย์ และศิลปินลาว คือ เตียน วิไลพอนจิด และ อำพอนสุก ไพสุริน โดยหยิบยกฮูปแต้มเรื่อง “สังข์ศิลป์ชัย” หรือที่พี่น้องสองฝั่งโขงรู้จักกันดีในชื่อ “สังสินไซ” หรือ “สินไซ” ตอน “สินไซเดินดง” มาเป็นประเด็นร่วมในการสร้างสรรค์ คำว่า “ฮูปแต้ม” เป็นภาษาพื้นถิ่น หมายถึง จิตรกรรมที่นิยมวาดบนผนังโบสถ์ ฮูปแต้มในประเทศลาวและในภาคอีสานของไทย ถ่ายทอดเรื่องราวทางพุทธศาสนา ทั้งพุทธประวัติ อดีตพระพุทธ ชาดก นิทานพื้นบ้าน ตลอดถึงวิถีชีวิต ของชาวบ้านที่สัมพันธ์กับเรื่องราวในทางพุทธศาสนา ในวรรณกรรมพื้นบ้านหลายเรื่อง ชาวบ้านเชื่อว่ามีที่มาจากเรื่องราวอดีตของพระพุทธเจ้า เช่น พระรามชาดก กาฬเกษ สินไซ จึงถูกยกขึ้นมาเขียนเอาไว้บนผนังโบสถ์ซึ่งเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยที่ลักษณะของรูปแบบวิธีการสร้างสรรค์ก็มีเอกลักษณ์แตกต่างเฉพาะถิ่น

สำหรับเทศกาลบางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ครั้งแรกนี้ ศิลปินกลุ่มฮูปแต้ม ลาว-ไทย ได้ร่วมมือสร้างงานศิลปะชิ้นใหม่ความยาว 15.50 เมตร ถ่ายทอดเนื้อหาจากวรรณคดีเพชรน้ำงาม “สินไซ” ซึ่งเป็นวรรณกรรมร่วมในดินแดนอุษาคเนย์ ซึ่งมีหลายสำนวนปรากฎในหลายวัฒนธรรม ทั้งในพม่า กัมพูชา ลาว และไทย แต่สำนวนที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ ฉบับของอาณาจักรล้านช้าง  ทุกถ้อยคำที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้มีความหมายไพเราะ แม้แต่บทที่แสดงความโกรธแค้น ก็ใช้ถ้อยคำสุภาพไม่หยาบคาย มีความงดงามในเชิงวรรณศิลป์ และยังแฝงหลักคำสอนมากมาย ในเนื้อเรื่องด้วย จนกลายเป็นวรรณกรรมที่เล่าขานสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน ศิลปินหยิบยกเรื่องราว การผจญภัยของตัวละครเอก คือ สินไซ สังข์ สีโห ซึ่งออกเดินทางเพื่อตามหาอา ระหว่างทางได้ต่อสู้ เพื่อความถูกต้องผดุงความยุติธรรมให้กลับคืนมา โดยมีการตีความให้สัมพันธ์กับสังคมร่วมสมัย

กลุ่มศิลปินฮูปแต้มลาว-ไทย ได้ใช้พื้นที่ของวัดไชยศรี ต.สาวะถี อ.เมือง จ.ขอนแก่น ในการทำงานร่วมกัน เพื่อเชื่อมภูมิปัญญาในอดีตกับศิลปะร่วมสมัย  ด้วยการประสานเทคนิค จิตรกรรมแบบดั้งเดิมกับเทคนิคร่วมสมัยของแต่ศิลปิน ลงบนแผ่นไม้ 24 แผ่น ก่อนที่จะย้ายมาติดตั้งในพื้นที่จัดแสดงที่กรุงเทพมหานคร

สมาชิกกลุ่ม ประกอบด้วย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทรงวิทย์ พิมพะกรรณ์  

เกิดที่ อุบลราชธานี พำนักและทำงานที่จังหวัดขอนแก่น

การศึกษา: ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาทัศนศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศิลปมหาบัณฑิต สาขาจิตรกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น เคยเป็นอาจารย์สอนศิลปะในมหาวิทยาลัยของรัฐ ปัจจุบันเป็นศิลปิน และนักวิชาการอิสระ นอกจากนั้นยังทำงานพัฒนาชุมชนโดยใช้มิติทางด้านศิลปวัฒนธรรม เพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และต่อยอดภูมิปัญญาในอดีตสู่ปัจจุบัน โดยเฉพาะภูมิปัญญาจาก  ฮูปแต้ม (จิตรกรรม), วรรณกรรม (สินไซ) และหมอลำ ฯลฯ

ห่มสวรรค์ อู่ม่านทรัพย์   

เกิด ปี พ.ศ.2525, ขอนแก่น
จบการศึกษาจากวิทยาลัยช่างศิลป กรมศิลปากร ลาดกระบัง, ระดับปริญญาตรีและโท สาขาศิลปไทยจากคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ ฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบัน กําลังศึกษาต่อระดับดุษฎีบัณฑิต ที่ภาควิชาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร ห่มสวรรค์มีผลงานทั้งทางด้านทัศนศิลป์และวรรณศิลป์ มีงานเขียนเช่น หนังสือ Life ปรัชญาชีวิตปริศนา,  One Stroke Painting ครั้งเดียวแต่หลายหน, First Touch สัมผัสแรกของการแสดงออก

ตนุพล  เอนอ่อน  

เกิด พ.ศ. 2521, ขอนแก่น
จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาจิตรกรรม จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และปริญญาโท สาขาจิตรกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำวิชาเอกศิลปะไทย สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และอาจารย์พิเศษสาขาจิตรกรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ผังเมือง และนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

อำพอนสุก ไพสุริน  

เกิด พ.ศ. 2522, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
จบการศึกษาจากสถาบันวิจิตรศิลป์ของลาว พ.ศ. 2553  ร่วมแคมป์ศิลปะ The International Painting Candle Festival “Charming Heaven Dreaming Colorful Candle Lights’’ บนพื้นที่ลุ่มน้ำโขง, พ.ศ. 2558-60 ร่วมทีมสำรวจบูรณะปฎิสังขร และอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ การอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง (ฮูปแต้ม) งานศิลปะบนกำแพง ที่วัดศรีสะเกษ

เตียน วิไลพอนจิด

เกิดปี พ.ศ. 2523, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจบการศึกษาจากสถาบันวิจิตรศิลป์ กรุงเวียงจันท์ เป็นจิตรกรที่ถนัดการใช้สีน้ำมัน และสีอะครีลิค ปัจจุบันทำงานรับข้าราชการสังกัด กรมวิจิตรศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สปป.ลาว