Samak Kosem

1984,  Bangkok, Thailand

Samak Kosem works in the field of anthropology and his recently research at the deep South of Thailand focuses on Muslim culture and non-human relation.

His works portray through photography and visual ethnography, as one of his methodologies that can reflect the partial truth/fact from his studies.

Samak is also interested in queer studies by focus on homosexuality in Islam to understand the limits of gender perspective in the local and the region. Samak holds Bachelor of Science and Master of Art in cultural anthropology from Chiang Mai University.

He lives and works in the deep South of Thailand, most of his works has been published in books and academic journals.

สมัคร์ กอเซ็ม

เกิดปี พ.ศ. 2527, กรุงเทพมหานคร พำนักและทำงานที่กรุงเทพฯ และเชียงใหม่

สมัคร์ กอเซ็ม จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและโทจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขามานุษยวิทยาวัฒนธรรม เขาเริ่มการทำงานในด้านมานุษยวิทยาทัศนาและอมนุษย์ศึกษา  ขณะพำนักที่เชียงใหม่ แต่ก็ได้เดินทางไปทำงานในพื้นที่ชายแดนหลายแห่งเช่นที่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และหลายพื้นที่ในสามจังหวัดชายแดนใต้ ในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมา สมัคร์ให้ความสนใจกับการศึกษาสังคมและวัฒนธรรมมุสลิมในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้เป็นพิเศษ งานของเขาจึงเน้นอธิบายเรื่องราวผ่านภาพถ่ายและชาติพันธุ์นิพนธ์เชิงทัศนา ในฐานะเป็นวิธีวิทยา อย่างหนึ่งของเขา ที่สะท้อนความจริง/ข้อเท็จจริงบางส่วนผ่านงานศิลปะและงานวิชาการ  

นอกจากนี้สมัคร์ยังสนใจด้านเควียร์ศึกษาที่เน้นเรื่องความเป็นรักร่วมเพศในศาสนาอิสลาม เพื่อทำความเข้าใจข้อจำกัดต่อมุมมองด้านเพศสภาพ ทั้งในระดับท้องถิ่นและภูมิภาค เขาอยากเห็นสังคมที่เปิดกว้างในการยอมรับความแตกต่างมากขึ้น ไม่ใช่แค่เรื่องเพศอย่างเดียว เหมือนในสามจังหวัดที่ต้องเปิดใจอยู่กับคนที่นับถือศาสนาและวัฒนธรรมที่แตกต่าง สมัคร์ มองว่าสิ่งนี้เป็นรากฐานของปัญหาหลายๆ เรื่องที่ยังดำรงอยู่ในภาคใต้ คนอาจจะมุ่งประเด็นไปที่ความรุนแรงกับรัฐ แต่แท้จริงแล้วยังมีปัญหาอื่นๆ อีกมาก เรื่องเควียร์เป็นเพียงหนึ่งในปัญหาเหล่านั้นที่อาจไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่สุด

แนวคิดดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นการทำงานวิจัยของเขาที่ใช้การถ่ายภาพแบบวิธีวิทยา (methodology) ร่วมกับการทำงานภาคสนาม เริ่มตั้งแต่งานในค่ายผู้ลี้ภัยจนขยายมาสู่การทำงานด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การบันทึกภาพเคลื่อนไหว และผนวกรวมเอามุมมองทางศิลปะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย การทำงานศิลปะของเขาจึงควบคู่ไปกับงานวิจัยทางวัฒนธรรมที่ตนเองสนใจ และตรงกับสายที่เรียกว่า มานุษยวิทยาทัศนา / visual anthropology ที่เปิดโอกาสให้ตัวเองทำงานออกมาในฐานะศิลปินได้ ดังที่ปรากฏในงานชุด “อมนุษย์” (nonhuman) ที่เริ่มทำในภาคใต้ในปี 2560 และงานลักษณะ  ชาติพันธุ์วรรณาเชิงทัศนา (visual ethnography) ที่เป็นทั้งภาพถ่ายและข้อเขียนบันทึก (fieldnote), วิดีโอศิลปะ (video art) และวัตถุจัดแสดง (object)

ผลงานที่จัดแสดงในนิทรรศการที่ผ่านมามี อาทิ พ.ศ.2560 นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย “The Enmeshed” ภัณฑารักษ์โดย เพ็ญวดี นพเกตุ มานนท์, สร้อยฟ้า แสนคำก้อน และศุภกานต์ วงษ์แก้ว,  หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ, นิทรรศการภาพถ่าย “ชุดน้ำชา” ภัณฑารักษ์โดย อนุวัฒน์ อภิมุขมงคล. อินตออาฟ คาเฟ่ แอนด์ แกลเลอรี่, ปัตตานี, พ.ศ.2561 นิทรรศการภาพถ่าย “เป็นเช่นอื่น อยู่ภายใน” ภัณฑารักษ์โดย คริสโตเฟอร์ ไวส์และสมรัก ศิลา, WTF คาเฟ่ แอนด์ แกลลอรี่, กรุงเทพฯ, นิทรรศการภาพถ่าย “The Campers: Micro-Cosmopolitanism of the Refugee’s World” ภัณฑารักษ์โดย SEA-Junction, หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร