Yuan Goang-Ming
1965, Taiwan

Yuan Goang-Ming is a pioneer of video art in Taiwan. Since working with video in 1984, he has received his Master’s degree in media art from the Academy of Design, Karlsruhe (1997). He is now one of the foremost Taiwanese artists active in the international media art circle. He currently holds a post as assistant professor and chair of the new media art department of the Taipei National University of Arts.

Combining symbolic metaphors with technological media, his work expresses the state of contemporary existence, and explores the human mind and consciousness. In 1988 while he was still in art school, he received the 13th Hsiung-Shih Art Award for the Best New Artist for his video and sculptural work Out of Position (1987). In 1992, his work Fish on a Dish garnered great acclaim in Taiwanese art circles, and received the First Prize of the Taipei County Arts Award, while The Reason for Insomnia (1998) received the Jury Prize of the 1st Digital Art Festival. His City Disqualified (2002) holds an important place in the history of Taiwanese contemporary media art.

His notable exhibition works include: Disappearing Landscape (2007), Before Memory (2011), and solo exhibition An Uncanny Tomorrow, which received the Exhibition of the Year of the 13th Taishin Arts Award.

Yuan has participated in various exhibitions across Asia, Europe, and America. Among these include: the Taiwan Pavilion at the 50th Venice Biennale, Italy (2003); Biennale de Lyon: La Vie Moderne, France (2015); Fukuoka Asian Art Triennale, Japan (2014); the 7th Asia Pacific Triennial of Contemporary Art, Australia (2012); Singapore Biennale (2008); Liverpool Biennial, U.K. (2004); Auckland Triennial, New Zealand (2004); the 2nd Seoul International Media Art Biennale, Korea (2002); 010101: Art in Technological Times at the San Francisco Museum of Modern Art (2001); ICC Biennial, Japan (1997), and Taipei Biennial (1998, 1996, 1992).

หยวน กวง หมิง

เกิดปี พ.ศ. 2508, ไทเป พำนักและทำงานที่ ไทเป ไต้หวัน

หยวน กวง หมิง เป็นศิลปินที่บุกเบิกวีดีโออาร์ตและทรงอิทธิพลคนหนึ่งของไต้หวัน เขาเริ่มที่งานตั้งแต่ปี พ.ศ 2527 หลังจบการศึกษาระดับปริญญาโท ทางด้านมีเดียอาร์ต จาก สถาบันการออกแบบ ในเมือง คาร์ลสรู เยอรมัน ปัจจุบันนอกจากทำงานศิลปะแล้ว เขายังดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และหัวหน้าสาขาศิลปะนิวมีเดีย ที่ มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งชาติไทเปอีกด้วย

หยวน กวง หมิง สร้างงานด้วยการผสมผสานสัญลักษณ์และการเปรียบเทียบ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่ออธิบายสถานะของมนุษย์และสังคมร่วมสมัย โดยสืบค้นเข้าไปที่จิตใจจนถึงจิตใต้สำนึก ผ่านประเด็นปัญหาต่างๆ ที่ทำให้วงการศิลปะ ของไต้หวันต้องสั่นสะเทือนทุกครั้งที่จัดแสดงผลงาน นับเป็นหนึงในศิลปินหัวก้าวหน้าที่ทำงานอย่างต่อเนื่องในเวทีระดับประเทศและนานาชาติ

ในขณะที่ยังเรียนหนังสืออยู่ เขาได้รับรางวัลศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม Hsiung-Shih Art Award ครั้งที่ 13 จากผลงาน วีดีโอ และ ประติมากรรม (พ.ศ. 2531), ผลงาน ‘Fish on a Dish’ ที่เป็นที่สนใจในแวดวงศิลปะอย่างมาก จัดแสดงที่ ได้รางวัลที่ 1 ของ Taipei County Arts Award ในปี 2535, ส่วนงาน The Reason for Insomnia ได้รับรางวัล the Jury Prize of the 1st Digital Art Festival ในปี 2541, ผลงาน ‘City Disqualified’ ที่เขาสร้างในปี 2545 ถือเป็นงานชิ้นประวัติศาสตร์สำคัญของวิดีโออาร์ตร่วมสมัยในประเทศไต้หวัน

หยวน กวง หมิง ร่วมแสดงงานในนิทรรศการระดับนานาชาติทั่วเอเชีย, ยุโรป และอเมริกา เช่น Taipei Biennial, Taipei Museum of Fine Arts ไทเป ไต้หวัน (2535, 2539, 2541), ICC Biennial, ญี่ปุ่น (2540), 010101: Art in Technological Times, the San Francisco Museum of Modern Art สหรัฐอเมริกา (2544), the 2nd Seoul International Media Art Biennale, Korea (2545), the Taiwan Pavilion at the 50th Venice Biennale, เวนิส อิตาลี (2546), Liverpool Biennial, ลิเวอร์พูล อังกฤษ (2547), Auckland Triennial, นิวซีแลนด์ (2547), Singapore Biennale สิงคโปร์ (2551), the 7th Asia Pacific Triennial of Contemporary Art, บริสเบน ออสเตรเลีย (2555), Fukuoka Asian Art Triennale, ฟูกูโอกะ ญี่ปุ่น (2557), Biennale de Lyon: La Vie Moderne, ลีออง ฝรั่งเศส (2558)

ผลงานของเขาได้รับการสะสมในคอลเลคชั่นส่วนบุคคลและพิพิธภัณฑ์ชั้นนำมากมายทั้งในและต่างประเทศ เขายังเป็นกรรมการคัดสรรผลงานสะสมของ the Taipei Fine Arts Museum, กรรมการคัดตัดสิน Taipei Arts Award, Venice Biennale (Taiwan Pavilion) และ Asia Society Art Award สหรัฐอเมริกา