Chumpon Apisuk 

1948, Nan,Thailand

Chumpon studied art at Changsilpa School of Art (1965-1966), Faculty of Painting, Sculpture and Print making (1967-1968), a private study with Tang Chang (1968-1969), and further studied at The School of Museum of Fine Arts, Boston, Massachusette, USA (1974-1976). He was one of the pioneers of performance art in Thailand and Southeast Asia and has performed more than 200 times worldwide since 1986.

In 1986 at the Bhirasri Institute of Modern Art, he organized ‘Wethi-Samai / Contemp-Tre” with Chatvichai Prommathattawethi (director), Vasan Sitthiket and Suvanich Rojanaraksa – a multi-disciplinary mixed event which was regarded as a starting point of the Avant-garde and Performance Art movement in Thailand. In 1988, he found “Tap Root Society” an art/activist center in Chiangmai, which led to bringing cultural activism into the province. In 1993, he founded Concrete House, the only performance art community space in Nonthaburi, Thailand. In 1998, Chumpon was also a founder and director of “Asiatopia – an International Performance Art Festival in Thailand”, the first Performance Art Festival in the country. He is constantly invited to perform and lecture globally in countries such as Germany, Canada, Japan, The Philippines, Indonesia, Singapore, Poland, Spain, Switzerland, Australia, USA, and many more.

“Mystory” is a 2003 solo exhibition of art projects and performances at Tadu Gallery, Bangkok, for biography and list of performance during 2000–2003. In 2015, he exhibited Chumpon Apisuk, 30 Years Performance Art at Bangkok Art & Culture Centre (BACC).

The artise is also known for his activism in AIDS, Human Rights, and democracy. He works with EMPOWER Foundation, which was founded by his partner Chantawipa Apisuk. The organization advocates the rights of sex workers in Thailand since 1985. This is where he conducts art for advocates training for sex worker leaders and activists in Thailand and Southeast Asia. He is an important figurein Thai Artists’ Network for the foundation of contemporary art centre and is currently a member of the Board of Bangkok Art & Culture Centre (BACC) in Bangkok.

At present, Chumpon is launching a new Performance in Residence and International Performative Exchange project in his remote home at Nan Province.

จุมพล อภิสุข

เกิด พ.ศ. 2491, น่าน พำนักและทำงานที่กรุงเทพฯ และ น่าน ประเทศไทย

จุมพล อภิสุข  เรียนศิลปะที่วิทยาลัยช่างศิลป์ กรมศิลปากร (พ.ศ. 2508 – 09) และศึกษาต่อที่คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. 2510 – 11) และศึกษาส่วนตัวกับ จ่าง แซ่ตั้ง (พ.ศ. 2511 – 12) ก่อนจะไปหาประสบการณ์ชีวิตและศึกษาเพิ่มเติมที่ เดอะมิวเซียมสคูลออฟ ไฟน์ อาร์ต เมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. 2517 – 19) จุมพล  ถือเป็นศิลปินอาวุโสของวงการศิลปะแสดงสดของประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นศิลปินรุ่นบุกเบิกที่ยังคงทำงานศิลปะแสดงสดมาอย่างต่อเนื่อง กว่า 200 ครั้ง ในหลายประเทศทั่วโลกนับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2529 จนถึงปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2529 ขณะเข้าทำงานระยะสั้นที่หอศิลป์พีระศรี กรุงเทพฯ จุมพลได้ริเริ่มโครงการ “เวทีสมั่ย” (Wethi-Samai/Contemp-Tre) ร่วมกับฉัตรวิชัย พรหมทัตตเวที ผู้อำนวยการ และเพื่อนศิลปิน วสันต์ สิทธิเขตต์ และสุวนิช โรจนรักษ์ ซึ่งเป็นกิจกรรมการแสดงสื่อผสมที่ เป็นโครงการจุดประกายให้เกิดงานลักษณะอวองการ์ด และความเคลื่อนไหวด้านงานศิลปะแสดงสดในประเทศไทยในเวลาต่อมา ในปี พ.ศ. 2531 เขาก่อตั้ง Tap Root Society ศูนย์ศิลปะและกิจกรรมของศิลปินที่ เชียงใหม่ จากนั้นในปี พ.ศ. 2536 เขาก่อตั้งศูนย์ศิลปะบ้านตึก ที่จังหวัดนนทบุรี ซึ่งถือเป็นชุมชนศิลปะแรก ที่เปิดพื้นที่ให้กับการทำงานศิลปะแสดงสดในไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2541  เขาร่วมกับเพื่อนหลายคนริเริ่ม เทศกาลศิลปะแสดงสดนานาชาติเอเชียโทเปีย ขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นเทศกาลศิลปะแสดงสดแห่งแรกในประเทศไทย และยังคงดำเนินกิจกรรมมาถึงทุกวันนี้ จุมพลได้รับเชิญไปแสดงและเป็นวิทยากรบรรยาย ในเทศกาลศิลปะแสดงสดในหลายประเทศทั่วโลก เช่น เยอรมนี, อังกฤษ, แคนาดา, ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, โปแลนด์, สเปน, สวิสเซอร์แลนด์, ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และ ฯลฯ

จุมพลจัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวครั้งสำคัญเมือปี พ.ศ. 2546 ที่หอศิลป์ตาดู พาวิเลียนวาย กรุงเทพฯ ชื่อ Mystory แสดงผลงานและจัดเสวนาเกี่ยวกับชีวิต ความคิด การทำงานแสดงสด และงานติดตั้งสาธารณะระหว่างปี 2543 – 2546 และในปี พ.ศ. 2558 นิทรรศการ “30 ปี ศิลปะแสดงสด จุมพล อภิสุข Chumpon Apisuk, 30 Years Performance Art ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

นอกจากการทำงานศิลปะแล้ว จุมพล ยังเป็นที่รู้จักอย่างมากในการเคลื่อนไหวเพื่อรณรงค์ เรื่อง โรคเอดส์, สิทธิมนุษยชน, และประชาธิปไตย เขาทำงานกับมูลนิธิส่งเสริมโอกาสผู้หญิง (มูลนิธิเอ็มพาวเวอร์)  ที่ก่อตั้งโดยภรรยา จันทวิภา อภิสุข ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 สนับสนุนงานออกแบบและการแสดงออกในเชิงศิลปะ เพื่อพัฒนาและให้ความรู้กับ พนักงานขายบริการในประเทศไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเข้าใจและรู้เท่าทันโรคเอดส์ เขายังเป็นแกนหลักของเครือข่ายศิลปิน เรียกร้องการก่อตั้ง หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 จุมพลเป็นหนึ่งในกรรมการ มูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบัน  

ในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา จุมพล ได้เปิด ศูนย์พำนักและแลกเปลี่ยนศิลปินแสดงสด ที่บ้านของเขาในจังหวัดน่าน