Ho Tzu Nyen

1976, Singapore

Ho Tzu Nyen was born in Singapore in 1976. He earned a BA in Creative Arts from Victorian College of the Arts, University of Melbourne (2001), and an MA in Southeast Asian Studies from the National University of Singapore (2007)

Ho Tzu Nyen makes videos, installations and performances. Interested in historical and philosophical texts, Tzu Nyen frequently explores subjects such as the structure and power of myths in his art, often revealing stories as discursive tools used to shape the present. His projects are characterized by the transformation of a network of ideas into intensive experiences.

His artworks have been presented at The Guggenheim Bilbao 2015, DAAD Galerie 2015, Mori Art Museum, Tokyo 2012, the Singapore Pavilion at the 54th Venice Biennale 2011; the 10th Shanghai Biennale 2014; Witte de With 2013, 2012; Haus der Kulturen der Welt, Berlin 2011, 2017. His theatrical works have been presented at the Asian Arts Theatre, Gwangju 2015; Wiener Festwochen 2014; Theater der Welt 2010; the KunstenFestivaldesArts 2006, 2008. His films have been presented at the Berlin Film Festival 2015; Sundance Film Festival 2012; Cannes Film Festival 2009; Venice Film Festival 2009; Locarno Film Festival 2011, and Rotterdam 2008, 2010, 2013.

Ho Tzu Nyen was awarded a DAAD Scholarship in Berlin 2014 – 2015 and the Grand Prize of the Asia Pacific Breweries Foundation Signature Art Prize 2015.

โฮ ซู เหนียน

เกิด พ.ศ. 2519, สาธารณรัฐสิงคโปร์

โฮ ซู เหนียน จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก คณะศิลปะสร้างสรรค์ วิทยาลัยศิลปะวิคตอเรียน มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ในปี พ.ศ.2544 และ จบการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2550

ซู เหนียน เริ่มต้นทำงานภาพยนตร์, วิดีโอ และการแสดง ก่อนจะพัฒนาต่อยอดสร้างศิลปะจัดวางให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เขาสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์และปรัชญา หลักความเชื่อที่มีมาตั้งแต่อดีต เราจึงได้เห็นการตีความใหม่ผ่านผลงานของ ซู เหนียน อยู่เสมอ เขามักจะค้นคว้าหาหัวข้อใหม่ๆ โครงสร้างและพลังของ ”ตำนาน” เรื่องเล่าขาน มานำเสนอให้เข้ากับบริบทของยุคสมัยปัจจุบัน โดยผู้ชมจะได้ร่วมเดินทางย้อนอดีตไปกับการนำเสนอที่ร่วมสมัย โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ของประเทศบ้านเกิดของตนเอง สิงคโปร์ประกาศตัวเป็นเอกราช เมื่อปี พ.ศ. 2508 ความลับ ความหลังที่น้อยคนจะรู้ ในรัฐที่เป็นพหุสังคม ประวัติศาสตร์ หรือเรื่องเล่านั้นย่อมแตกต่างกันตามพื้นฐานและความเชื่อของแต่ละชนชาติ เช่นเรื่องของอาชีพ และการตั้งรกราก ในยุคศตวรรษที่ 19 ยุคอาณานิคมอังกฤษ ซู เหนียน เกิดความกระหายใคร่รู้และต้องการที่จะเล่าเรื่องอดีตของตนเองอีกครั้ง

ปี พ.ศ. 2546  งานวิดีโอและภาพพอทเทรต ชุด Utama—Every Name in History is I  เล่าเรื่องการค้นพบและก่อตั้งรัฐบนเกาะ โดย เจ้าชายแสง นิลา อุตมะ จนมาถึงยุคล่าอาณานิคม มีตัวละครทั้ง คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส, วาสโก ดา กาม่า, เจิ้ง เหอ และเซอร์ โธมัส สแตมฟอร์ด ราฟเฟิลส์, ปี พ.ศ. 2548 เขาสร้างสารดีสั้นทางโทรทัศน์ 4 ตอน 4×4—Episodes of Singapore Art นำเสนอเรื่องของศิลปินร่วมสมัยและศิลปะสมัยใหม่ในสิงคโปร์ ออกอากาศทางโทรทัศน์แห่งชาติสิงคโปร์, ปี พ.ศ. 2549  เขาสร้างงานชื่อ Sejarah Singapura ให้พิพิธภัณฑ์แห่งชาติสิงคโปร์ ด้วยเทคนิคสื่อผสมเสมือนจริง เล่าตำนานก่อนยุคอาณานิคม, ปี พ.ศ. 2552 เขาเขียนบทและกำกับภาพยนตร์เรื่องแรก HERE ซึ่งถ่ายทำแบบสารคดี เล่าเรื่องชีวิตของชายที่สูญเสียภรรยาและเสียใจจนไม่อยากมีชีวิตต่อไป และถูกนำมารักษาที่โรงพยาบาลจิตเวช Island Hospital หนังได้รับเลือกไปฉายที่ เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเมืองคานส์ ประเทศฝรั่งเศส ในงาน 41st Directors Fortnight Section และเข้าชิงรางวัลกินรีทองคำ ในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพ, ปี พ.ศ. 2549 ร่วมแสดงงานในเทศกาล สิงคโปร์ เบียนนาเล่ และเป็นตัวแทนประเทศสิงคโปร์ แสดงงานในเทศกาล เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 54 ประเทศอิตาลี ในปี พ.ศ.2554

นอกจากนี้ยังมี่งานแสดงทั้งเดี่ยวและกลุ่ม ที่  Substation Gallery, สิงคโปร์ (2546) Contemporary Center of Art, กลาสโกลว (2550) Contemporary Art Centre of South Australia, อะดิเลด (2553); Artspace, ซิดนีย์ (2554); Mori Art Museum, โตเกียว (2555) ; Thermocline of Art: New Asian Waves, ZKM Center for Art and Media, คาร์สสรูห์ (2550); Asia Pacific Triennial, Queensland Art Gallery, บริสเบน (2552); No Soul for Sale, Tate Modern, ลอนดอน (2553); transmediale.11, Haus der Kulturen der Welt, เบอร์ลิน (2554 ); Surplus Authors, Witte de With, รอตเธอดัม (2555); Autonomous Zones, Times Museum, กว่างโจว, ประเทศจีน (2556)