Jittima Pholsawek

1959, Songkla, Thailand

Jittima Pholsawek is an artist, a feature writer, a short story writer, and a poetess.  She has devoted herself to several kinds of art such as photography, mixed media, and performance art since 1991 and was one of the initiators in “Desire-Tradition”, a women art project, which later was developed into “Women Manifesto International women art festival”.

She was also a founder of the community art project that has been proceeded for 14 years. This project focuses on social, environmental, and cultural issues. The rapid social, environmental, and cultural changes resulted from the giant development projects in Salween river, Kong river,  Uraklavoy village Lanta Island in Krabi province, and  Dawei town in Myanmar immensely have captured the artist’s attention.

In 2017 Jittima won the Manus Siansing Award by Pridi Banomyong  institute in Thailand. The award was a significant honor to those who devote themselves consistently to social practice (art) for over 10 years.

Her art and writing works consistently reflect the inequality among human beings, exploitation of the underprivileged and the minority groups, cultural oppression, and natural resources colonization by humans and corporates.

Jittima is currently assuming various roles such as a director of community art projects, a committee member of Asiatopia festival, and an editor of  Klang – Kuan – Wan publications.

จิตติมา ผลเสวก

เกิด พ.ศ. 2502 จังหวัดสงขลา พำนักและทำงานที่ กรุงเทพฯ ประเทศไทย

จิตติมา ผลเสวก จบการศึกษาจาก วิทยาลัยช่างศิลป์ กรุงเทพฯ เธอเริ่มต้นเส้นทางการทำงานจากการ เป็นนักเขียนสารคดี เรื่องสั้น บทกวี และเริ่มสร้างงานศิลปะหลากรูปแบบทั้งภาพถ่าย สื่อผสม และ ศิลปะสื่อการแสดงสดอย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 จิตติมาเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่ม นิทรรศการศิลปะ ผู้หญิงประเวณี- ประเพณี (TradiSextion) ที่ศูนย์ศิลปะบ้านตึก (Concrete House) กรุงเทพฯ ก่อนจะพัฒนามาเป็นเทศกาลศิลปะผู้หญิงนานาชาติ วูแมนนิเฟสโต้ และมีสมาชิกศิลปินหญิงสำคัญหลายคนเข้าร่วมในเวลาต่อมา

ผลงานศิลปะและงานเขียนของจิตติมา มักจะมีเนื้อหาที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน   คือสะท้อนความไม่เท่าเทียมของมนุษยชาติ การเอารัดเอาเปรียบ การครอบงำทางวัฒนธรรม และการล่าอาณานิคมทางทรัพยากรธรรมชาติ เธอได้เข้าร่วมเทศกาลศิลปะแสดงสดนานาชาติ Asiatopia ที่กรุงเทพฯ มาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2541

ในปี พ.ศ. 2547  จิตติมาได้ร่วมก่อตั้งโครงการศิลปะชุมชน (Community Art Project : CAP) ร่วมกับไพศาล เปลี่ยนบางช้าง และเพื่อนศิลปินอีกหลายคน และดำเนินงานต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน CAP เน้นการทำงานศิลปะในพื้นที่ชุมชนต่างๆ เพื่อนำเสนอเรื่องราวด้านสังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมชุมชน โดยเฉพาะในพื้นที่อ่อนไหวและเสียงต่อผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการเปลี่ยนแปลง อันเป็นผลจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ต่างๆ เช่น พื้นที่แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำโขง, หมู่บ้านทวาย ชายแดนพม่า, หมู่บ้านชาวอูรักลาโว้ย เกาะลันตา จังหวัดกระบี่ หรือเทพา จังหวัดสงขลา โดยจิตติมาและกลุ่มศิลปินโครงการศิลปะชุมชน ได้ร่วมกันทำงานศิลปะแสดงสดในพื้นที่ต่างๆ เหล่านั้น จากการพบปะและทำงานกับชาวบ้าน และชุมชนในท้องถิ่นต่างๆ พร้อมๆ กับ นำภาพถ่าย วิดีโอ บันทึกความเคลื่อนไหวเหล่านั้น มาถ่ายทอดเป็นนิทรรศการ หรือร่วมแสดงในเทศกาลศิลปะแสดงสดต่างๆ ให้กับคนในเมืองหลวงได้รับรู้เป็นระยะ

ปี พ.ศ. 2560 จิตติมาได้รับรางวัลมนัส  เศียรสิงห์ จากสถาบันปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบ ให้คนทำงานศิลปะที่สะท้อนสังคมต่อเนื่องเกินสิบปี เธอเพิ่งจัดแสดงงานเดี่ยวไปเมื่อต้นปี 2561ในชื่อ ปล่อยให้ฉันร่ายรำ (Let Me Dance) ที่ พีเพิ่ลส์ แกลเลอรี่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยมีคำโปรยนิทรรศการว่า “ฉันจะร่ายรำได้อย่างไร ในนครแปลกหน้า เราต่างอยากฆ่ากัน” พูดถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต และวัฒนธรรม โดยผ่านสัญลักษณ์การร่ายรำมโนราห์ของทางใต้