Kata Sangkhae
1976, Bangkok, Thailand
Kata Sangkhae graduated with a Bachelor’s Degree in Visual Arts from the School of Fine and Applied Arts, Bangkok University, Thailand, before continuing his studies in the Master’s Degree in the Sculpture Area at the University of California Los Angeles (UCLA), USA. He achieved his Ph.D. from RMIT University, Australia. Now Kata is currently a professor at Bangkok University.
In the Thai context of waiting for the return to democracy, Kata Sangkhae’s photographs of the Democracy Monument may inspire hope or despair according to the viewer’s interpretation. Against the night sky, at times blurry and then in sharp focus but without detail definition, his non-naturalistic images of blinding light on the golden replica of the constitution upon its golden receptacle, and the monument’s four wings in four directions, convey tall white shapes invocative of disembodied spirits.
Instead of writing a specialized academic treatise on the role and raison d’etre of monuments as repository of collective memory, conceptual artist and doctor of philosophy Kata Sangkhae bravely communicates with the open-ended medium of photography. Amidst the packed metropolis that surrounds and drowns them, how do these monuments endure as important state artifact and device for instilling nationalism, in the new “stooped-over Thai” [Thai Gom Nha] society in which every face is bent over a phone.
Not an exhibition of beautiful photographs to uphold and glorify history lessons and nation-building memories as nurtured by the ruling powers, ‘Narrative of Monuments’ rather reflects the present faded state of those historical memories, represented here by the Democracy and Victory Monuments and King Taksin and King Rama I Memorials, among the artist’s contemporaries.
In his role as a contemporary artist, he has created works relating to identity, urbanization, tourism, cultural environments, situation-specific, and sociopolitical issues stemming from changing places and locations.
คธา แสงแข
เกิด พ.ศ. 2519, พำนักและทำงานที่ กรุงเทพมหานคร
คธา แสงแข จบการศึกษาปริญญาตรี ด้านทัศนศิลป์ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หลังจากนั้นได้ไปศึกษาต่อปริญญาโท ด้านประติมากรรม ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียร์ ลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา และจบการศึกษาระดับปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัย RMIT เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2559 ปัจจุบัน คธา เป็นอาจารย์ประจำ ที่คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
คธา เป็นศิลปินที่มีผลงานจัดแสดงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2542 เขาชอบทำงานในเชิงความคิดที่มักสร้างความประหลาดใจให้ผู้ชมงานอยู่เสมอ เขาใช้วัตถุและทุกสื่อที่มีใกล้ตัวมาสร้างเป็นชิ้นงานเพื่อสะท้อน สังคม ศาสนา อัตลักษณ์และการเมืองอย่างหยอกล้อและมีอารมณ์ขัน นิทรรศการเดี่ยวของเขามี อาทิ “Water room project”, วงเวียน 22, กรุงเทพฯ (2542), “You are here”, หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ (2543), “Everest”, อะเบาท์สตูดิโอ/ อะเบาท์คาเฟ่, กรุงเทพฯ (2547), “Ghost Identity”, Koi Art Gallery, กรุงเทพฯ (2553), “Who Are We?”, Dark Horse Gallery,เมลเบิร์น (2558) และนิทรรศการล่าสุด Narratives of Monuments กาธมัญฐุ แกลเลอรี่ กรุงเทพฯ (2561) ที่ศิลปินใช้สื่อภาพถ่ายอันเปิดกว้างต่อการตีความ ตั้งคำถามต่อบทบาทหน้าที่และการดำรงอยู่ของ “อนุสาวรีย์” ในฐานะ “ความทรงจำร่วม” (Collective memory) ซึ่งถือเป็นประดิษฐ์กรรมสำคัญของการสร้างชาติและแนวคิดชาตินิยมโดยรัฐไทย กับสังคมใหม่ ‘ไทยก้มหน้า’ มองแต่มือถือของตน ท่ามกลางกายภาพเมืองที่แออัดรายล้อมรอบอนุสาวรีย์เหล่านั้น และล่าสุดกลางปี พ.ศ. 2561 “Our Sunshine” ที่ แกลเลอรี่ เวอร์ กรุงเทพฯ
นอกจากนี้ คธายังเข้าร่วมแสดงงานกลุ่ม ในรูปของประติมากรรมและศิลปะเชิงความคิด ทั้งในไทยและต่างประเทศ อาทิ “City on The Move” ร่วมกับจิตติ เกษมกิจวัฒนา และภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์ ซึ่งเป็นโครงการที่คัดสรรโดย Hou Hanru และ Hans-Ulrich Obrist ที่ P.S.1, New York (2541), Pararell World โปรเจ็ค 304 กรุงเทพฯ (2543), Present Perfect หอศิลป์พีระศรี กรุงเทพฯ (2545-46), “Red man swimming II and Little Kata at “Tout a Fait Thai 2006” ที่ Centre George Pompidou, ปารีส ฝรั่งเศส (2549), กรุงเทพฯ 226 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (2549), Please take me home, “Safe Place in the Future แกลเลอรี่ เวอร์ กรุงเทพฯ (2552), Imagine Peace หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (2553), ไทยเท่ จากท้องถิ่นสู่อินเตอร์ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (2555), Superfiction RMIT Project Space เมลเบิร์น ออสเตรเลีย (2557)