Moelyono
1959, Tulung Agung, Indonesia
Moelyono is an artist and a writer in Tulungagung, East Java. Influenced by Brazilian educator Paulo Freire, he has become well known for his successful efforts to encourage workers to engage with local political issues through community theater.
In 2007, the Perth-based cultural exchange project of the Sam Bung Foundation facilitated a visit to Australia by Moelyono for three weeks in October. Moelyono exhibited his work ‘Those who are bound’ (Yang diikat). This multimedia installation included an opening performance in cooperation with Perth artists, students and volunteers. He also presented campus seminars and workshop with primary school children. Becoming involved with the local community is in line with Moelyono’s art practice, which promotes dialogue and is accessible to anyone who wants to take part.
Moelyono uses art to help marginalized communities develop autonomous spaces. Many Indonesian artists depict ‘the poor’, but Moelyono criticizes them for not actually connecting with these communities to help them improve their situations, as per his saying ‘Contemporary art only objectifies the poor’.
โมลโยโน
เกิด พ.ศ. 2517, ตลุงอกุง อินโดนีเซีย
โมลโยโน เป็นศิลปินและนักเขียนจากชวาตะวันออก เขาจบการศึกษาระดับปริญญา สาขาจิตรกรรมจาก Indonesian Institute of the Arts และได้รับอิทธิพลด้านแนวคิดอย่างมากจากนักการศึกษาชาวบราซิล เปาโล ฟรีเย่ นอกจากสร้างงานศิลปะในฐานะศิลปิน เขายังเป็นที่รู้จักในฐานะ “นักเคลื่อนใหว” อีกด้วย การแบ่งปันประสบการณ์ให้ความรู้กับเยาวชนในท้องถิ่น คือสิ่งที่ศิลปินคนนี้ทำอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงแต่สอนศิลปะ แต่โมลโยโน ยังสอนให้ทุกคนตระหนักรู้ ถึงการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์เพื่อสร้างสังคมที่ดีขึ้น
โมลโยโน เป็นที่รู้จักจากความพยายามที่ปลุกความกล้าหาญในตัวของชนชั้นแรงงานให้สนใจปัญหาการเมืองท้องถิ่น ผ่านโรงละครชุมชนที่ให้ทุกคนในชุมชนที่มีความสนใจ ได้มีส่วนร่วมทำการแสดงด้วย งานของเขาเป็นการผสมผสานศิลปะจัดวางกับเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
โมลโยโนเริ่มทำงานกับชุมชน ในปี พ.ศ. 2523 เขากลับไปยังหมู่บ้านเล็กๆ ที่บ้านเกิด “ตลุงอกุง” แถบชวาตะวันออก พื้นที่ห่างไกลความเจริญและการดูแลจากส่วนกลาง เขาเริ่มสอนวิชาศิลปะให้เด็กๆ ทุกคนในหมู่บ้านเรียกเขาว่าครูสอนวาดรูป เพราะไม่มีใครรู้จักสิ่งที่เรียกว่า “ศิลปิน” ด้วยความตั้งใจอยากพัฒนาชุมชน โมลโยโน ถูกจับตามองโดยกองทัพ ซึ่งส่งคนมาดูแลหมู่บ้าน และ ร่วมกิจกรรมกับศิลปิน เพื่อให้แน่ใจว่าเขาจะไม่สอนอะไรที่ส่งผลกระทบต่อรัฐบาล
ปี พ.ศ. 2529 – 2535 โมลโยโน เดินทางไปทำกิจกรรมในหลายๆ ชุมชน พบเจอผู้คนและปัญหาสังคมเฉพาะถิ่นที่หลากหลาย ซึ่งล้วนได้ถูกสะท้อนผ่านผลงานศิลปะของเขาทั้งสิ้น ต่อมาศิลปินได้เข้าร่วมกลุ่มโลกใหม่ ที่เป็นการรวมตัวของศิลปินอินโดนีเซียหัวก้าวหน้า ทำงานในระดับนานาชาติ สร้างงานที่แสดงออกทางความคิดเรื่องการเมือง ทำให้บรรดาภัณฑารักษ์ทั้งท้องถิ่นและระดับนานาชาติสนใจร่วมงานด้วย เขาได้เข้าร่วมแสดงงานในเทศกาลศิลปะใหญ่ ๆ ทั้ง the 3rd Asia Pacific Triennial บริสเบน ออสเตรเลีย (พ.ศ. 2542), Gwangju Biennale เกาหลีใต้ (2543, 2547), เบียนนาเล่ ยอกยา (2552) และในพิพิธภัณฑ์หลายแห่งของเอเชีย, ปี พ.ศ. 2559-2560 เขากลับมาแสดงงานเดี่ยวถึง 2 งาน คือ Bara Nyala Mama Mama ที่ Ark Galerie และ “Amok Tanah Jawa” ที่ Langgeng Art Foundation ยอกยาการ์ต้า อินโดนีเซีย ที่นำเสนอเรื่องการเมืองในเชิงสัญญะ