Montien Boonma

1953-2000, Udon Thani, Thailand

Montien Boonma (1953–2000) was one of Asia’s most distinguished contemporary artists.

Montien Boonma was a key figure in the Thai and International contemporary art.  He is known for works that successfully blended local and international contemporary art that reflects his exploration of Buddhist philosophy and indigenous cultural knowledge. Boonma was among pioneering artists who explored the spirit and Thai identity unnoticed by court and official art. He utilized cheap materials commonly found in the countryside of Thailand, disclosing the non-centralized Thainess rarely presented in contemporary art at the time. His works have been exhibited widely in museums and several major art Biennales and Triennials. He graduated with a bachelor’s degree in painting from the Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts, Silpakorn Unviersity, Bangkok and furthered his study at Université de Paris VIII and École Nationale Supérieure des Beaux Arts, France.

From 1990s, Boonma had been creating diverse body of works including installation, mixed media art and sculpture that reflected nature, society and the penetration of industry due to the influence of economic and social development plans. Since his wife had breast cancer, his work revealed the concepts and the questions related to Buddhist philosophy – birth, existing and death.

After the death of his wife, he took his work to present abroad and devoted time to his work to console the mind until he found out about his own symptom of lung cancer.

It is clear that through his art that Boonma had attempted a level of self detachment from life, in other words, to feel “death before dying”, yet his art also stands as a testimony to the desire to preserve life, of himself and those he loved. Unfortunately, Boonma passed away untimely at the age of 48 when his artistic creativity fully matured and was widely recognized internationally. Boonma also greatly contributed to the Thai art circles by putting Thailand on the map of the contemporary art world.

มณเฑียร บุญมา

พ.ศ. 2496-2543, กรุงเทพฯ ประเทศไทย

มณเฑียร บุญมา เป็นหนึ่งในศิลปินคนสำคัญของวงการศิลปะร่วมสมัยไทยและนานาชาติ เขาเป็นผู้บุกเบิกการทำงานที่ผสมผสานระหว่างศิลปะสื่อผสม งานจัดวางและงานเชิงความคิดเข้าด้วยกัน เคยเข้าร่วมแสดงนิทรรศการศิลปะที่โดดเด่นในระดับนานาชาติทั้ง เบียนนาเล่ เทรียนนาเล่ เทศกาลศิลปะ และในพิพิธภัณฑ์ชั้นนำต่างๆ ทั่วโลก ผลงานของมณเฑียรมีความโดดเด่นในการผสมผสานศิลปะไทยและตะวันตกได้อย่างกลมกลืน เป็นศิลปินที่บุกเบิกอัตลักษณ์ไทยท้องถิ่นที่ไม่เคยได้รับการนำเสนอมาก่อนในศิลปะแบบทางการ และในแวดวงศิลปะร่วมสมัยของไทย เขาใช้วัสดุท้องถิ่นราคาถูกที่พบหาได้ทั่วไปในท้องถิ่น จากทั่วประเทศ เผยให้เห็นความเป็นไทยที่ไม่ได้รวมศูนย์ในที่ใดที่หนึ่ง รวมทั้งความลุ่มลึกในแนวคิดที่แฝงไปด้วยปรัชญาพุทธ ที่กลมกลืนอยู่ในวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ จิตวิญญาณและความเป็นไทยไม่เคยมีใครหยิบยกออกมาแสดงออกในรูปแบบที่ต่างไปจากศิลปไทยประเพณี หรือศิลปะในกระแสหลัก

มณเฑียร  เรียนจบปริญญาตรีสาขาจิตรกรรม จากคณะจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ฯ  มหาวิทยาลัยศิลปากร กรุงเทพฯ และศึกษาต่อในสาขาประติมากรรม ที่ Ecole Nationale Supérieure des Beaux Arts และมหาวิทยาลัย Université de Paris VIII ในประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ช่วงคริสต์ทศวรรษ 90s มณเฑียรมุ่งมั่นสร้างผลงานศิลปะอย่างต่อเนื่อง ทั้งงานศิลปะจัดวาง สื่อผสม ประติมากรรม ที่สะท้อนแนวความคิดเกี่ยวกับธรรมชาติ สังคม และการรุกคืบของอุตสาหกรรม ภายใต้การพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม อันเป็นกระแสหลักในช่วงทศวรรษนั้น

ภายหลังเมื่อทราบข่าวการป่วยของภรรยาด้วยโรคมะเร็งทรวงอก ผลงานของมณเฑียรจึงเริ่มหันเข้าสู่กระบวนการคิด และการตั้งคำถามเชิงพุทธปรัชญาต่อความหมายของการเกิด มีชีวิตอยู่ และการตาย  หลังการจากไปของภรรยา มณเฑียร เริ่มตระเวนแสดงงานศิลปะในต่างประเทศมากขึ้น และอุทิศแรงกายอย่างหักโหมให้การทำงานศิลปะ และพบว่าตนเองกำลังป่วยด้วยโรคมะเร็ง ถึงกระนั้นมณเฑียรก็ไม่เคยหยุดสร้างงานศิลปะ แม้ว่าร่างกายจะไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงานแล้ว แต่มณเฑียรก็ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยจิตใจที่เข้มแข็ง มีพลังสร้างสรรค์งานจวบจนวาระสุดท้ายของชีวิต เขาจากโลกนี้ไปด้วยวัยเพียง 48 ปี  ในขณะที่ชีวิตการเป็นศิลปินกำลังรุ่งโรจน์ และเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ มณเฑียร ถือเป็นศิลปินสำคัญที่มีส่วนผลักดันให้ประเทศไทย ก้าวเข้าไปอยู่ในแผนที่ของการแสดงงานศิลปะในระดับนานาชาติ

นิทรรศการเดี่ยวครั้งสำคัญของเขา ได้แก่ ปี พ.ศ. 2532 Story From The Farm พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ หอศิลป กรุงเทพฯ, พ.ศ. 2533 Thaiaht; Thai-Thai พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ หอศิลป กรุงเทพฯ, พ.ศ. 2534 The Pagoda & Cosmos Drawn with Earth, Asean Culture Center Gallery, โตเกียว และ Mitsubishi Jisho ARTIUM, ฟูโกโอกะ ญี่ปุ่น, พ.ศ. 2534 โอม วิฌวลธรรม แกลเลอรี่ กรุงเทพฯ

เทศกาลศิลปะและนิทรรศการสำคัญในระดับนานาชาติที่มณเฑียรเข้าร่วมมี อาทิ พ.ศ.2533 8th Biennale of Sydney ซิดนีย์ ออสเตรเลีย, The Integrative Art of Modern Thailand, Lowie Museum, University of California, Berkeley แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา, พ.ศ.2535 Arte Amazonas, Museum de Arte Moderne ริโอ เดอจาเนโร บราซิล, New Art from Southeast Asia 1992, Tokyo Metropolitan Art Space, Fukuoka Art Museum, Hiroshima City Museum of Contemporary Art and Kirin Plaza, โอซากา ญี่ปุ่น, พ.ศ. 2536 Prospect 93: the International Exhibition of Actual Art, Frankfurt Kunsteverein and Schirn Kunsthalle แฟรงเฟิร์ธ เยอรมัน, พ.ศ. 2538 Thai-Tension, หอศิลปวิทยนิทรรศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ, Asian Modernism, the Japan Foundation Asia Center, โตเกียว สัญจรไปกรุงเทพฯ มะนิลา และจาการ์ตาร์, พ.ศ. 2539 Island: Contemporary Installation Art from America, Asia, Europe and Australia, National Gallery of Australia, ACT ออสเตรเลีย, Traditions/Tensions, Contemporary Art in Asia, The Asia Society, นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา, Into the Next Decade หอศิลป์ตาดู กรุงเทพฯ, พ.ศ. 2540 Glimpses into the Future 1997, Museum of Contemporary Art โตเกียว, Hiroshima City Museum of Contemporary Art ฮิโรชิมา ญี่ปุ่น, Houses der Kulturen dem Welt เบอร์ลิน เยอรมัน, Johannesburg Biennale โจฮันเนสเบิร์ก แอฟริกาใต้, พ.ศ. 2541 Global Vision, New Art from the 90s, Deste Foundation เอเธนส์ กรีซ, ‘Those Dying Wishing to Stay, Those Living Preparing to Leave’ ศาลาไทย, the 51st International Art Exhibition, La Biennale di Venezia เวนิส อิตาลี