Muslimah Collective
2015, Thailand
Established in year 2015, Bangkok, Pattani, Songkhla and Yala. Works in the Southern border provinces of Thailand.
Muslimah Collective is a collaborative group of five female Muslim artists from southern Thailand. Muslimah presented their works to Bangkok Art & Culture Center (BACC) for PEOPLE GALLERY Exhibition in September 2017 under the name “The Way of Women” run by De’Lapae Contemporary Art Space Narathiwat, curated by KeetaIsran.The work implies the roles and duties in honorable and dignity conduct, the act on the basis of goodness, the humility to those who have faith. Inspired by the integrity in Thai society, this group of Muslim female artists from Pattani, Yala and Narathiwat are able to capture the creativity in the approach and style that characterizes the new generation of female artists to express themselves and drive the art work to further the ideas, processes and procedure with hope that it will contribute and help nurture hope and courage for all the female artists in the deep South.
The group began with Isran who showcased her solo exhibition So Hope (2015), a telltale illustration of stories, beauty, and value of Muslim women which derive from personal inner feelings. The works reflect the role of motherhood, of change, and of its perfection once a daughter is born off her.
Isran collaborated with 5 more of her friends, juniors and students on artistic grounds of telling stories of women and creation of artwork. They distill each artist’s individualism to reflect beauty, inspiring this new generation of female artists to create works of art. They make notes on the theme of peace beyond violence, beauty of flowers, and how beauty in art derives from them. The artists comprise of Keeta Isran, Kusofiyah Nibuesa, Nureeya Waji, Heedayah Mahavi,Ratana Hawae, and Arichama Pakapet.
For this gathering of Muslimah Collective in 2018 at Bangkok Art Biennale will include 5 artists comprise of Keeta Isran, Nureeya Waji, Heedayah Mahavi, Kusofiyah Nibuesa, and Arichama Pakapet.
Keeta Isran 1986, Bangkok, Thailand
Based and worked in Narathiwat, currently working as an Art Teacher in the faculty of Art at SongkhlaNakarin, Pattani Campus. She uses drawing and picture printing techniques, which mostly would be images of Muslim women that was expressed from memories such as a mother, grandmother, someone in the family or portraits of different people in the news. Reflecting images of The Way of Women, roles and duties in the family, and the contemporary life in Muslim society. She was awarded 3rd prize in Painting in the 58th& 59th National Exhibition 2012-2013), 1st prize in Thai Contemporary Painting in the 34thBualuang Painting, 2nd in Thai Contemporary Painting in the 35thBualuang Painting, Solo Exhibition “So Hope” at The National Gallery (2015), Group Exhibition “PataniSemas” at Maiiam Contemporary Art Museum, Chiang Mai (2017)
Kusofiyah Nibuesa1992, Pattani, Thailand
Lives and works in Pattani and Bangkok, currently studying Picture Printing at Silpakorn University, Nakornpathom.
Kusofiyah is outstanding in showcasing her art that reflects the simplicity of the Muslims’ lifestyle in the 3 Southern Border Provinces of Thailand. Simulating particular human motions on her picture prints onto the paper that is unexceptionally attractive, similar to a dimensional low convex sculpture such as the picture of a female market woman in the middle of baskets in the market or the uncle on the TukTuk. She used to be the Youth Representative creating Contemporary Artworks for the 6th Youth Campus, awarded Top Prize in showcasing her Contemporary Artwork in the 18thPanasonic Contemporary Art Event, and 2nd prize for her Contemporary Art showcase in the 34th Youth Contemporary Artist Event.
Nureeya Waji 1993, Pattani, Thailaand
Lives and works in Pattani and Bangkok, currently studying Thai Art at Silpakorn University, Nakornpathom.
Nureeya is interested in using Garment Techniques which includesstitching and dying techniques, known to be used widely in the 3 Southern Border Provinces of Thailand. Her art expresses both a self-portrait and abstract shapes. Her recent works would include using clothes from the gunfire victims to stitch up, expressing the incidents and emotional states of the locals. She used to be awarded for her Top Prize in the 17th Panasonic Contemporary Art Event, Outstanding award in the 4th Asia Plus Event, and Group Exhibition PataniSemasa in Maiiam Contemporary Art Museum, Chiang Mai (2017).
Heedayah Mahavi 1993, Yala, Thailand
Lives and works in Narathiwat.
Heedayah has a specialty in using her main material in her artwork, which is natural dried grass instead of canvas in her paintings as how most people are familiar with. This is because natural dried grass is a local material that the Artist would like to express deep to the roots and existence. The image of the mother and grandmother is created by the perfect overlapping of the dried grass, blending on the weight and color that expresses different dimensions to it. She used to be the Youth Representative creating Contemporary Artworks for the 7th Youth Campus, Attended the Dao Den Bualuang Project in year 2015, received a supporting fund to create a General PremTinsulanonda Statesman Foundation artwork.
Arichama Pakapet 1994, Songkhla, Thailand
Arichama, born and raised in a fisherman family in Theppa, Songkhla. When she chose to continue her studies in Art and work in Pattani, shethen mourns and felt homesick. Inspired by her feelings, she chose to use natural fiber/thread used in fishery to create art. Bundling and weaving into free shape that spreads out continuously like a giant net, symbolizing the religious teachings to live with sufficiency, goodness and living a life dependent on one another.
Arichama used to be the Youth Representative creating Contemporary Artworks for the 7th Youth Campus and was awarded 2nd prize for her Contemporary Art showcase in the 33rd Youth Contemporary Artist Event.
กลุ่มศิลปินมุสลิมะห์ (วิถีแห่งสตรี)
ก่อตั้งขึ้นปี พ.ศ. 2560, กรุงเทพ, ปัตตานี, สงขลา, ยะลา ทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ประเทศไทย
Muslimah Collective หรือ กลุ่มศิลปินมุสลิมะห์ เป็นการรวมตัวของ 5 ศิลปินหญิง ที่มีพื้นฐานความเชื่อร่วมกันในศาสนาอิสลาม เริ่มต้นจากการแสดงผลงานกลุ่มในนิทรรศการ “ วิถีแห่งสตรี” MUSLIMAH ที่ พีเพิ่ลส์ แกลเลอรี่ หอศิลปและวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2560 ดำเนินการโดย De’Lapae Contemporary Art Space Narathiwat และคัดสรรโดย คีต์ตา อิสรั่น เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวของผู้หญิงในสังคมมุสลิม กับการทำงานศิลปะในพื้นที่จังหวัด สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ซึ่งยังเป็นพื้นที่ที่มีผู้ก่อความไม่สงบอยู่เป็นระยะ เพื่อสื่อให้สังคมภายนอกได้รับรู้ถึง สภาวะภายในตัวตนของศิลปิน และการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มองข้ามความรุนแรง ปราศจากความขัดแย้ง สะท้อนการทำงานของศิลปินหญิงที่มีความหวัง ยึดมั่นในบทบาทและหน้าที่ตามหลักปฎิบัติและคำสอนในศาสนา ให้กระทำตนอยู่บนพื้นฐานของความดีงาม และการเยียวยาความรู้สึก มีความเห็นอกเห็นใจกันระหว่างเพื่อนมนุษย์ มีความเป็นธรรม และการให้เกียรติกันทางสังคม โดย คีต์ตาได้รวบรวมศิลปินหญิงรุ่นใหม่จากต่างภูมิลำเนา ซึ่งล้วนเป็นเพื่อนรุ่นน้องและลูกศิษย์ของเธอ มารวมกลุ่มกัน ในครั้งนั้นประกอบด้วยศิลปินหญิง 6 คน คือ นูรียา วาจิ ฮิดายะห์ มะหะวี กูซอฟียะอ์ นิบือซา นุรัตนา หะแว อริชมา ผกาเพชร์ และคีตต์า อิสรั่น
สำหรับการรวมกลุ่ม Muslimah Collective ปี 2018 ในเทศกาลบางกอกอาร์ทเบียนนาเล่ ครั้งนี้ ประกอบด้วย 5 ศิลปิน คือ คีต์ตา อิสรั่น นูรียา วาจิ ฮิดายะห์ มะหะวี กูซอฟียะอ์ นิบือซา และอริชมา ผกาเพชร์
คีต์ตา อิสรั่น เกิด 2529, กรุงเทพฯ พำนักและทำงาน นราธิวาส ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีงานของเธอใช้เทคนิควาดเส้นผสมภาพพิมพ์บนกระดาษ มักจะเป็นรูปหญิงชาวมุสลิม ที่ถ่ายทอดจากความทรงจำ รูปแม่ ยาย หรือคนในครอบครัวหรือภาพบุคคลต่างๆ ในเหตุการณ์ข่าว สะท้อนภาพวิถีสตรีเพศ บทบาทในครอบครัว และชีวิตในสังคมมุสลิมร่วมสมัย เธอเคยได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง (จิตรกรรม) การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 58 และ ครั้งที่ 59 (พ.ศ. 2555 – 2556), รางวัลที่ 1 ประเภทจิตรกรรมไทยร่วมสมัย จิตรกรรมบัวหลวงครั้งที่ 34, รางวัลที่ 2 ประเภทจิตรกรรมไทยร่วมสมัย จิตรกรรมบัวหลวงครั้งที่ 35, นิทรรศการเดี่ยว Sohope พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป กรุงเทพฯ (2558), นิทรรศการกลุ่ม Patani Semasa ที่ Maiiam Contemporary Art Museum เชียงใหม่ (2560)
กูซอฟียะห์ นิบือซา เกิด 2535, ปัตตานี พำนักและทำงานที่ปัตตานี และกรุงเทพฯ, กำลังศึกษาต่อ ( สาขาภาพพิมพ์) มหาวิทยาลัยศิลปากร จ.นครปฐม
กูซอฟียะห์ มีความโดดเด่นในการสร้างผลงานที่สะท้อนวิถีชีวิตเรียบง่ายของชาวมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยจำลองบางอิริยาบถของผู้คนมาปรากฎบนเทคนิคภาพพิมพ์การประกอบกระดาษ ที่เหมือนประติมากรรมนูนต่ำ มีมิติและความงามที่สะดุดตา ไม่ว่าจะเป็นภาพแม่ค้าท่ามกลางกับกระจาด ตะกร้าในตลาด หรือ ลุงบนสามล้อถีบร้บจ้าง เธอเคยเป็นตัวแทนค่ายเยาวชนสร้างสรรค์ ผลงานศิลปะร่วมสมัย ครั้งที่ ๖, ได้รับรางวัลยอดเยี่ยม การประกวดจิตรกรรมร่วมสมัย พานาโซนิคครั้งที่ 18 และรางวัลเหรียญเงิน การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 34
นูรียา วาจิ เกิด 2536, ปัตตานี พำนักและทำงานที่ปัตตานี และกรุงเทพฯ, กำลังศึกษาต่อ (สาขาวิชาศิลปะไทย) มหาวิทยาลัยศิลปากร จ.นครปฐม
นูรียา สนใจการกลับไปหาเทคนิคการทำงานผ้า ทั้งการเย็บและการมัดย้อมซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในพื้นที่ 3 จังหวัด โดยมักสื่อออกมาโดยมีทั้งที่เป็น ภาพเหมือนตัวเอง และรูปทรงนามธรรม งานหลังๆ ของเธอยังมีการนำเอาเสื้อผ้า ที่ผู้ประสบเหตุการณ์ไม่สงบนำมาเย็บปะติด เพื่อสื่อถึงเหตุการณ์และสภาวะความรู้สึกของคนในพื้นที่ เธอเคยได้รับรางวัลยอดเยี่ยม จิตรกรรมร่วมสมัยพานาโซนิคครั้งที่ 17, รางวัลดีเด่น การประกวดจิตกรรมเอเชียพลัส ครั้งที่ 4 และร่วมแสดงในนิทรรศการกลุ่ม Patani Semasa ที่ Maiiam Contemporary Art Museum เชียงใหม่ (2560)
ฮิดายะห์ มะหะวี เกิด 2536 ยะลา พำนักและทำงานที่ นราธิวาส
จิตรกรรมของฮิดายะห์ มีความพิเศษที่ใช้วัสดุหลัก คือหญ้าแห้งจากธรรมชาติ แทนการใช้ผ้าใบเช่นในจิตรกรรมทั่วไปที่คนคุ้นเคย เนื่องจากเป็นวัสดุจากท้องถิ่น ที่ศิลปินต้องการจะสื่อถึงรากและตัวตน ร่องรอยรูปแม่และยาย เกิดจากการซ้อนทับไปมาอย่างลงตัวของหญ้าแห้ง กลมกลืนบนน้ำหนักและสีที่ให้มิติแตกต่างกันออกไป เธอเคยเป็นตัวแทนค่ายเยาวชนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย ครั้งที่ 7, เข้าร่วมโครงการดาวเด่นบัวหลวง ปี 2558 และเคยได้รับทุนส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
อริชมา ผกาเพชร์ เกิด 2537 พำนักและทำงานที่ สงขลา
ด้วยความที่อริชมาเติบโตมาในครอบครัวชาวประมง ที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เมื่อเธอเลือกมาเรียนศิลปะและทำงานที่ ปัตตานี ความคิดถึงและความห่างไกลผูกพันถึงบ้านเกิด ทำให้เธอเริ่มใช้วัสดุเส้นใยจากธรรมชาติที่ใช้ในงานประมง มาสร้างเป็นงานศิลปะ ทั้งมัดและถักทอเป็นรูปทรงอิสระที่แผ่ขยายวงและความยาวออกไปเรื่อยๆ ราวกับเป็นตาข่ายขนาดยักษ์ ดั่งภาพสะท้อนคำสอนในศาสนาให้ดำรงตนบมความพอเพียง บนพื้นฐานความดีงามและใช้ชีวิตจากการพึ่งพาอาศัยกัน อริชมาเคยเป็นตัวแทนค่ายเยาวชนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย ครั้งที่ 7 และได้รับรางวัลเหรียญเงิน จากการแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยศิลปินรุ่นเยาว์ ครั้งที่ 33