Numen For Use Collective Design
Founded 1998, Croatia
Numen/For Use is a collective working in the fields of conceptual art, scenography, industrial, and spatial design.
The group was first formed in 1998 as a collaborative effort of industrial designers Sven Jonke, Christoph Katzler, and Nikola Radeljković under the banner “For Use”.
In 1999, they established Numen as a collective identity covering all projects actualized outside the sphere of industrial design.
The group’s early enterprises are characterized by experiments with impersonal design and radical formal reduction, deeply rooted in the tradition of high modernism and mainly applied to various synergistic total-design projects in Croatia.
From 2004 onward, after setting up a large scale site-specific project for the production of “Inferno” in the National Center for Drama in Madrid, Numen/For Use has become intensely involved with scenography. Further realizations in theaters across Europe ensued.
นูเมน/ฟอร์ ยูส คอลเลคทีฟ ดีไซน์
กลุ่มศิลปิน ก่อตั้งปี พ.ศ. 2541, ออสเตรีย/โครเอเชีย พำนักและทำงานที่เบอร์ลิน เยอรมัน
นูเมน/ฟอร์ ยูส คอลเลคทีฟ ดีไซน์ คือการรวมตัวของศิลปินและนักออกแบบภายใน ที่ประกอบด้วย สเวน โจนค์, คริสตอฟ แคทซเลอร์ และนิโคลา ราเดลจโควิค ภายใต้ชื่อ “ฟอร์ ยูส” เพื่อทำงานครอบคลุมทั้งการออกแบบดีไซน์, งานศิลปะกับพื้นที่ และงานออกแบบอุตสาหกรรม ต่อมา ในปี พ.ศ. 2452 ทางกลุ่มเริ่มทำงานที่เน้นความคิดและจินตนาการมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องทำเพื่อใช้งานหรือไม่ต้องการคำอธิบาย จึงตั้งชื่อ “นูเมน” (Noumenon) ขึ้นมาใช้ประกอบกัน
พวกเขาทำงานศิลปะหลายแขนง ทั้งศิลปะแบบนามธรรม สร้างกรอบความคิด, การออกแบบภาพ, การออกแบบอุตสาหกรรม และงานแนวอวกาศ ผลงานของพวกเขามีลักษณะเป็นงานแนวทดลองที่เล่นกับพื้นที่ขนาดใหญ่ด้วยวัสดุชิ้นเล็ก อย่างเทปกาว ไปจนถึงของหนัก ชิ้นใหญ่อย่าง กระจก หรือ อลูมีเนียม
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา หลังจัดตั้งผลงานสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ “Inferno” ที่ ศูนย์การละครแห่งชาติ กรุงมาดริด ที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมได้เป็นนักแสดง ผ่านกระจกสะท้อนทีให้มิติลึกและกว้างกว่าเวทีการแสดงทั่วไป ชื่อของ นูเมน/ฟอร์ ยูส ก็โดดเด่นและเริ่มเป็นที่ยอมรับในแวดวงการแสดงละครเวที จนทำให้พวกเขาได้รับเชิญไปออกแบบฉากของละครเวที และการแสดงสดทั่วยุโรป
นอกจากนี้พวกเขายังได้เดินทางไปสร้างงานศิลปะติดตั้งเฉพาะที่มาแล้วในหลายประเทศ งานประติมากรรมจัดวางที่มีลักษณะเป็นอุโมงค์ขนาดยักษ์ โดยใช้เทปกาวขนาดใหญ่ที่ใช้กันในงานทั่วไปและงานอุตสาหกรรม ประกอบขึ้นเป็นโครงข่ายโพรงยักษ์ที่ผู้ชมสามารถปีนเข้าไปได้ ในหลากหลายรูปทรงขึ้นอยู่กับความแตกต่างของแต่ละพื้นที่ี เช่น Tape Frankfurt ที่เมืองแฟรงเฟิร์ธ (พ.ศ.2553), Tape Paris ที่ Palais de Tokyo ปารีส (2557-58), Tape Des Moines/Drawing in Space ที่ Des Moines Art Center อาคาร I.M Pei (2561) ไอโอว่า สหรัฐอเมริกา หรือ Tube Cologne เยอรมัน (2561) นอกจากนี้ยังมีงานติดตั้งขนาดใหญ่ที่ใช้ตาข่าย และวัสดุอื่นๆ ในหลากหลายสถานที่อีกมากมาย