Sakarin Krue-On

1965, Bangkok, Thailand

Sakarin Krue-Onis a contemporary Thai visual artist. His works are often site-specific installations with traditional Thai cultural influences. Sakarin is an art instructor, an advisor for postgraduate students, and the Associate Dean of the Faculty of Painting, Sculpture and Graphic Arts at Silpakorn University. He resides and works in the metropolitan area of Bangkok, although his projects and exhibitions frequently take him out of Thailand.

Sakarin has created a number of solo works, in addition to collaborating with other artists and presenting exhibitions at galleries and institutions. He specializes in site-specific installations, and sometimes works with local communities to produce his works. His pieces are often sculptural, but he also uses video and paintings. His work highlights the virtues of traditional Thai culture, such as rice farming practices, temple paintings, and Buddhist imagery, while blending Western and local techniques of printmaking, drawing, sculpting, and painting.

Apart from the solo exhibitions, Sakarin has participated in many selected group exhibition both in Thailand and abroad. He participated in Thai Pavilion at 50th Venice Biennale in 2000, 21st Asian International Art Exhibition in Singapore 1999, Invited Artist to Documenta 12 in Kassel Germany 2007, Nanjing Triennial in China 2008, Thai Pavilion for 53rd Venice Biennale under the Project Gondola al Paradiso.,Ltd. 2009. In 2010, Sakarin was invited to show his work Temple in the exhibition Murals at Museum of the Foundation Joan Miró, Barcelona, Spain. Participated in Busan Biennale 2012, South Korea, Art Sanya in Hainan, China, 2013, and Singapore Biennale 2016, Singapore.

Sakarin has occasionally been invited to be a visiting artist, guest lecturer and conductor of many international workshops. He is also the founder and curator of the Art and Community Project ‘Metro-Sapiens: dialogue in the cave’ (2013), A partnership of Baan Noork Collabolative Arts and Culture (non-profit) since 2011, Invited advisor for the Project Taoyuan Land Art Festival, Taoyuan, Taiwan 2015.

The artist received Silpathorn Prize (visual art) 2009, by Thailand Ministry of Culture and was recently honored with Prudential Eye Award 2016 / Lifetime Achievement Award for Asian Contemporary Art, Singapore.

สาครินทร์ เครืออ่อน

เกิด พ.ศ. 2508, พำนักที่ราชบุรี ทำงานที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย

สาครินทร์ เครืออ่อน จบการศึกษาจากภาควิชาศิลปะไทย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร นอกจากบทบาทศิลปิน ปัจจุบันยังดำรงตำแหน่งเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาศิลปะไทย คณะจิตรกรรมฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร อีกด้วย

สาครินทร์ เป็นศิลปินที่ถนัดงานประเภทจัดวาง เนื้อหางานของเขาเต็มไปด้วยกลิ่นอายของ “ศิลปะไทยประเพณี” และความเชื่อแบบไทยที่ผนวกเข้ากับการแสดงออกแบบศิลปะร่วมสมัย เขาสนใจการกลับไปค้นหาความหมายของคุณค่าดั้งเดิม และสิ่งทีกำลังเลือนหายไปในสังคมและวัฒนธรรมสมัยใหม่ หรือความเป็นไปได้ในการก่อให้เกิดความหมายและคุณค่าใหม่ของสิ่งเหล่านั้นในสังคมปัจจุบัน การผสมผสานทั้งสองอย่างเข้าด้วยกันในภาษาร่วมสมัย ทำให้ผลงานของเขามีลักษณะที่เป็นความแปลกใหม่ในสังคมไทย และโลกศิลปะฝั่งตะวันตก เขาถ่ายทอดมุมมองนี้ผ่านงานทั้งที่เป็นประติมากรรม, สื่อผสม, และวีดีโอ ที่ผู้ชมสามารถมีส่วนร่วมกับงานได้

สาครินทร์เริ่มเป็นที่รู้จักในแวดวงศิลปะร่วมสมัยนานาชาติในช่วงต้น ตั้งแต่ร่วมแสดงในศาศาลาไทยที่ เทศกาลเวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 50 ในปี พ.ศ. 2546 ด้วยผลงานชื่อ “Ramasura and Mekhala, 2546”) สร้างด้วยเทคนิคคอมพิวเตอร์กราฟิก แอนิเมชันมีลักษณะเป็นจุดคล้ายเทคนิคการนำลูกประคบประทับบนกระดาษปรุลาย เป็นรูปนางมณีเมขลากับรามสูรวิ่งไล่กัน โดยภาพจะซ้อนทับกันเป็นชั้นไปเรื่อยๆ ทั้งเล็กบ้างใหญ่บ้าง เคลื่อนไหวอย่างช้าๆ ศิลปินนำเรื่องเมขลาล่อแก้วซึ่งเป็นนิทานพื้นบ้าน มาผ่านกระบวนการทางความคิด แสดงผ่านเทคนิคใหม่ในเวลานั้น เพื่อสะท้อนเรื่องการทะเลาะเบาะแว้งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในทุกสังคม ในปี พ.ศ. 2550 สาครินทร์เป็นศิลปินไทยคนแรกที่ได้เข้าร่วม เทศกาลศิลปะสำคัญระดับโลกอย่าง Documenta ครั้งที่ 12  ที่เมืองคาสเซิล ประเทศเยอรมัน นำผลงาน “Terraced Rice Fields Art Project” (2550) จัดสร้างที่บริเวณเนินด้านหน้าปราสาท Wilhelmshöhe โดยจำลองการทำนาข้าวขั้นบันได ตั้งแต่กระบวนการขุดเตรียมดินสำหรับเพาะต้นกล้า ปักกล้า ดำนา โดยมีอาสาสมัครทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติมาร่วมลงมือทำ เป็นการดึงเอาวัฒนธรรมการลงแขก คือการช่วยเหลือกันของคนในสังคมให้กลับมา สะท้อนปัญหาของการอยู่ร่วมกันในสังคม สืบเนื่องจากระบบทุนนิยม

นับจากปี 2543 สาครินทร์ มีนิทรรศการเดี่ยวถึง 9 ครั้ง ได้แก่ Temple (2543), Yellow Simple (2544), Cloud Nine (2547), 2005 Crisis (2548 ), Equal Opportunity? (2549), Horizon (2551) Ripe Project, Village and Harvest Time (2551), “h” (2551), Manorah and Best Friends of the Snake (2553) และ “A Talebearer’s Tale: The Last Deer” (2560)

สาครินทร์ เครืออ่อน ได้รับการยกย่องจากกระทรวงวัฒนธรรมให้เป็นศิลปินศิลปาธร ประจำปี  พ.ศ. 2552 และรับรางวัล Lifetime Achievement Award หรือผู้ประสบความสำเร็จสูงสุด จากเวที พรูเดนเชียล อาย อวอร์ดส์ (Prudential Eye Awards ) ครั้งที่ 3 ประเทศสิงคโปร์