Yuki Kihara

1975, Samoa Aoteroa New Zealand

Yuki Kihara is an interdisciplinary artists whose work explores and varying relations and intersections between gender, race, sexuality, culture, and politics.

Her performance, photographic, and moving image works have been featured, among others, at The Metropolitan Museum of Art 2008, Asia Pacific Triennial 2002 & 2015, Auckland Triennale 2009, Sakahan Quinquennial 2013, Daegu Photo Biennale 2014 and Honolulu Biennale 2017. Kihara’s artworks are in several collections, including The Metropolitan Museum of Art, Los Angeles Country Museum of Art, Queensland Art Gallery, Gallery of Modern Art and Te Papa Tongarewa Museum of New Zealand.

ยูกิ กิฮารา

เกิด พ.ศ. 2518, รัฐเอกราชซามัว, พำนักและทำงานที่เกาะซามัว และเอาเทอารัว นิวซีแลนด์

ยูกิ กิฮารา เกิดในดินแดนสองอารยธรรม ทั้งวัฒนธรรมซามัวและญี่ปุ่น กิฮารา อพยพเข้ามาอยู่ที่ประเทศนิวซีแลนด์ในปี พ.ศ. 2532

กิฮารา ทำงานแบบสหวิทยาการ คือใช้ทั้งวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และศิลปศาสตร์เข้าด้วยกัน เธอศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความสัมพันธ์อันน้อยใหญ่และจุดเปลี่ยนระหว่างเพศสภาวะ, เชื้อชาติ, วัฒนธรรม และการเมืองของผู้คนในหมู่เกาะแถบแปซิฟิคในที่ที่เธอเกิดและจากมา  

เธอจบการศึกษาสาขาการออกแบบแฟชั่นและเทคโนโลยีจากเวลลิงตัน โพลีเทคนิค หรือมหาวิทยาลัย แมสเซย์ในปัจจุบัน เธอฉายแววนักออกแบบตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นปี 2 เมื่อชุดเดรสกราฟฟิตี้ ที่เธอออกแบบในปี พ.ศ. 2538 ถูกซื้อไปโดยพิพิธภัณฑ์แห่งชาตินิวซีแลนด์ จากนั้นเธอจึงเริ่มทำงานข้ามสายทั้งงานแฟชั่น, ศิลปะ, ภาพถ่าย, การแสดงและวีดีโออาร์ต

ผลงานการแสดงสด ภาพถ่ายและงานวิดีโอของเธอ ได้ถูกนำมาจัดแสดงในหลากหลายเทศกาล อาทิเช่น นิทรรศการเดี่ยวที่ The Metropolitan Museum of Art นิวยอร์ค (2551), เทศกาลศิลปะ Asia Pacific Triennial (2545 และ 2558), เทศกาลศิลปะโอ๊คแลนด์ (2552), เทศกาลภาพถ่าย แดกู เบียนนาเล่ (2557), เทศกาล ฮอนโนลูลู เบียนนาเล่ (2560) และในอีกหลายพิพิธภัณฑ์ทั่วโลก เช่น Museum of Modern Art นิวยอร์ค, Hong Kong Arts Centre ฮ่องกง, Kaohsiung Museum of Fine Arts ไต้หวัน, Centro Ricerca Arte Attuale อิตาลี, Rautenstrauch-Joest Museum โคโลญจ์, Haus der Kulturen der Welt เบอร์ลิน, Musée du Quai Branly ปารีส, Trondheim Kunstmuseum นอร์เวย์, National Gallery of Canada, ออตตาวา ฯลฯ

ในปี พ.ศ. 2559 ศิลปินได้เข้าร่วมแสดงในเทศกาล Auckland Arts Festival กับผลงานภาพถ่ายชุด A Study of a Samoan Savage เทคนิคภาพถ่ายและโปรเจคเตอร์ขนาดเท่าคนจริง แสดงภาพนิ่งของการวัดร่างกายมนุษย์ตามหลักวิทยาศาสตร์ กล้ามเนื้อ แต่ละชิ้น เพื่อตอบโต้กับกรณี นักกีฬารักบี้ชาวซาโมน ที่โดนกล่าวหาจากแฟนรักบี้ว่าทำให้ทีมแพ้ โดยไม่มีเหตุผลใดมารองรับ สะท้อนการเหยียดชายชาวโพลีนีเชี่ยนที่แข็งแกร่งแต่ล้าหลังในกีฬารักบี้ฟุตบอล ที่้เทียบได้กับปรากฎการณ์ในยุคคริสตศวรรษที่ 19 ที่ชาวแปซิฟิคจะถูกจัดให้เป็นเผ่าพันธ์นักกีฬาที่จำเป็นต้อง ได้รับการศึกษาทางวิทยาศาสตร์อย่างละเอียด ซึ่งการเก็บข้อมูลดิบและตัวอย่างชิ้นส่วนในลักษณะนี้ เป็นภาพแทนการออกล่าและขยายอาณานิคมจากฝั่งตะวันตก

ผลงานของ กิฮารา ได้รับการสะสมอยู่ในพิพิธภัณฑ์สำคัญต่าง ๆ รวมถึง Los Angeles County Museum of Art สหรัฐอเมริกา, Queensland Art Gallery | Gallery of Modern Art บริสเบน ออสเตรเลีย และ Te Papa Tongarewa Museum นิวซีแลนด์